เรื่องควรรู้ของเสาเข็มไมโครไพล์และระบบโครงสร้างฐานราก



เรื่องควรรู้ของเสาเข็มไมโครไพล์และระบบโครงสร้างฐานราก ตัวช่วยเพิ่มความแข็งแรงของตัวบ้าน

เสาเข็มไมโครไพล์ (micro pile) ถือว่าเป็นส่วนสาคัญของบ้าน เพราะเป็นรากฐานที่จะช่วยเรื่องความมั่นคง ไม่ทาให้บ้านทรุดตัวในอนาคต พร้อมช่วยยึดโครงสร้างฐานรากให้มีความแข็งแรงมากกว่าเดิม ด้วยความสาคัญนี้การลงเสาเข็มไมโครไพล์จึงได้รับความนิยมนามาใช้กับบ้านสร้างใหม่และบ้านที่กาลังรีโนเวทเป็นอย่างมาก โดยที่เสาเข็มไมโครไพล์นั้นจะมีทั้งแบบกลมและแบบเหลี่ยม มีลักษณะตรงกลางกลวงแต่จะมีเหล็กเป็นโครงสร้างที่ฝังตัวภายในเนื้อคอนกรีต ความน่าสนใจของเสาเข็มไมโครไพล์ คือ การรองรับน้าหนักตัวบ้านได้มาก 20-35 ตันต่อต้น เมื่อฝังลงไปแล้วจึงช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับตัวบ้านได้หลายเท่า เนื้อของคอนกรีตมีความหนา 6-8 เซนติเมตร ความยาว 1-1.5 เมตร แต่ถ้าต้องการต่อให้ยาวขึ้นก็สามารถเอาเสาเข็มไมโครไพล์อีกต้นมาต่อหรือมาสวมได้อย่างง่ายดาย
การนาเสาเข็มไมโครไพล์ลงสู่ดินเพื่อให้รองรับน้าหนักตัวบ้านนั้น จะมีการตอกลงไปด้วยเครื่องที่เรียกว่าปั้นจั่นแบบ Drop Hammer System โดยรูตรงกลางนั้นมีประโยชน์มากในเรื่องของการลดแรงสั่นสะเทือนในขณะที่ตอกเสาเข็มลงไป ทาให้เป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน รวมไปถึงบ้านที่มีปัญหาเรื่องพื้นทรุดจากฐานรากที่มีปัญหา การใช้งานเสาเข็มไมโครไพล์ก็จะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ดีที่สุด แต่การตอกเพื่อแก้ไขบ้านทรุดจะเน้นการอัดเสาลงไปด้วยเครื่องไฮดรอลิกมากกว่า เพราะไม่ต้องรื้อเสาเดิมออกให้วุ่นวายก็สามารถอัดเสาเข็มไมโครไพล์ลงไปรองรับน้าหนักตัวบ้านได้รวดเร็วทันใจ หลักการทางานก็ไม่ยุ่งยากเพียงแค่ขุดหลุมข้างเสาเข็มเดิมที่ลึกประมาณ 1 เมตรและกว้าง 1 เมตร ให้เจอฟุตติ้งแล้วติดตั้งเครื่องไฮดรอลิกเพื่อทาการกดเสาเข็มลงไปตรงตาแหน่งที่ต้องการได้อย่างแม่นยา โดยจะกดลงไปทีละท่อนและกดจนกว่าเสาเข็มไปเจอชั้นดินที่มีความแข็งที่สุด อยู่ที่ประมาณ 20 เมตร (ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่หน้างาน) จากนั้นก็จะยึดเปิดเสาไว้กับตัวของฐานรากและพร้อมใช้งานได้ทันที

โครงสร้างฐานรากมีอยู่ 2 ส่วนที่นิยมใช้ คือ โครงสร้างฐานรากที่อยู่ใต้ดิน เป็นตัวรับน้าหนักของบ้านไว้ทั้งหมดผ่านทางตอม่อ จากนั้นก็จะถ่ายน้าหนักที่ได้รับมาลงสู่เสาเข็มหรือชั้นดินที่แข็งที่สุดต่อไป เหมาะกับสิ่งก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่และน้าหนักมาก เช่น บ้าน, อาคาร หรือตึกที่มีขนาดใหญ่ และอีกแบบคือฐานรากที่อยู่บนดิน มีอีกชื่อว่าฐานรากแบบแผ่ที่จะถ่ายน้าหนักลงดินเท่านั้น เป็นการพึ่งพาให้ดินรับน้าหนักไปทั้งหมด เน้นสร้างตรงจุดดินชั้นบนที่มีความแข็งหรือดินทรายแบบอัดแน่น ดังนั้นฐานรากชนิดนี้
จึงจะเหมาะกับสิ่งก่อสร้างที่มีน้าหนักเบาเท่านั้น เช่น บ้านขนาดเล็กชั้นเดียว, โรงจอดรถ หรือรั้วบ้าน เป็นต้น นอกจากนี้ฐานรากยังมีแตกออกเป็นอีกหลายรูปแบบ คือ
 ฐานรากแผ่เดี่ยวที่รับเพียงตอม่อหรือเสาต้นเดียวที่มีรูปร่างแบบไม่ตายตัว สามารถปรับเป็นแบบต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม แต่ส่วนใหญ่แล้วจะถูกทาออกแบบในรูปทรงสี่เหลี่ยมที่มีเสาอยู่จุดกึ่งกลางพอดี แต่ถ้าไปอยู่ตรงขอบที่ชิดกับกาแพงและไม่สามารถล้าเข้าไปในพื้นที่ข้างๆ ได้ ก็จะถูกออกแบบมาให้เสาอยู่ริมหรืออยู่ด้านใดด้านหนึ่งอย่างเหมาะสม แต่จะทาออกมาให้มีความเสถียรมากที่สุด
 ฐานรากแผ่ร่วมเหมาะกับฐานรากที่ไม่สามารถแยกกันได้ เป็นบ้านที่เสาไม่ห่างกันมากนัก
 ฐานรากแผ่ปูพรมจะมีขนาดใหญ่เพื่อรองรับเสาหลายๆ ต้นในหนึ่งเดียว เหมาะกับกรณีที่บ้านอยู่ตรงจุดดินมีความแข็งน้อยจึงรับน้าหนักได้ไม่มาก
 ฐานรากแบบเสาเข็มรองรับ เหมาะกับพื้นที่มีดินอ่อนอยู่ด้านล่าง จึงจาเป็นต้องใช้เสาเข็มเป็นตัวดันลงไปสู่ชั้นดินที่แข็งที่สุด ซึ่งในเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานครจะใช้ฐานรากแบบนี้กันเป็นส่วนใหญ่และในบางพื้นที่ต้องดันเสาเข็มลึกลงไปถึง 23 เมตรเลยทีเดียว
ไม่ใช่แค่เพียงฐานรากเท่านั้นที่จะเป็นตัวรับน้าหนัก แต่อีกส่วนหนึ่งที่มีความสาคัญไม่แพ้กันนั่นคือ “ตอม่อ” เพราะเป็นส่วนประกอบที่ถูกวางไว้บนฐานราก เพื่อรับน้าหนักต่อจากคานคอดินแล้วทาการส่งต่อน้าหนักไปสู่ฐานรากอีกทอดหนึ่ง จึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งส่วนสาคัญที่จะทาให้โครงสร้างฐานรากมีความแข็งแรง และพร้อมรับน้าหนักทั้งบ้านเอาไว้ได้อย่างดีที่สุด
เสาเข็มไมโครไพล์มีความสาคัญต่อระบบฐานรากในหลายด้าน เพราะมีคุณสมบัติที่ช่วยให้การตอกหรืออัดเสาลงไปมีความง่ายดาย, แรงสั่นสะเทือนน้อย และทาให้ฐานรากมีความแข็งแกร่งมากกว่าเดิมเป็นเท่าตัว เนื่องจากเสาเข็มไมโครไพล์ 1 ต้น รับน้าหนักได้มากถึง 35 ตัน การใช้งานด้านฐานรากจะอัดลงไปหลายต้นเพื่อให้สามารถเข้าไปรองรับน้าหนักทุกส่วนของบ้านหรืออาคารได้อย่างเต็มที่ ที่สาคัญคือสามารถตอกเข็มชนิดนี้เข้าไปชิดกาแพงรั้วได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการลุกล้าหรือการทาให้บ้านข้างๆ เสียหาย เพราะแรงสั่นสะเทือนมีน้อยจึงลดการกระทบกระเทือนต่อโครงสร้างเดิมๆ ของบ้านข้างเคียง เสียงไม่ดัง ไม่รบกวนบ้านอื่นๆ มากนัก เมื่อตอกเสาเข็มไมโครไพล์เสร็จก็ไม่มีเรื่องดินโคลนเลอะเทอะหน้าบ้านหรือกาแพงของเพื่อนบ้านให้รู้สึกไม่ดีอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.pkmicropile.com