แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กของไทย ปี 2019 – 2021



 ความต้องการใช้เหล็กในปี 2562 มีแนวโน้มทรงตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก และคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นในช่วงปี 2563-2564 อยู่ที่ประมาณ 1,900 ล้านตัน ผลจากการขยายตัวของกำไรก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลก โดยประเทศมหาอำนาจที่น่าจะใช้เหล็กจำนวนมาก ได้แก่ จีน อินเดีย และสหรัฐฯ โดยเฉพาะอินเดีย ซึ่งรัฐบาลส่งเสริมให้เป็นประเทศศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ ขนาดเล็กในภูมิภาค ทำให้มีความต้องการใช้เหล็กเพิ่มขึ้น 

อุตสาหกรรมเหล็กในไทย : ตลาดเหล็กในประเทศจะเติบโตตามภาคก่อสร้างและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ท้าให้การผลิตขยายตัวตาม

สำหรับตลาดส่งออกเหล็กของไทย (สัดส่วน 10% ของปริมาณการผลิต ในประเทศ) คาดว่าจะหดตัว (ภาพที่ 25) ทั้งในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ (จากผลของมาตรการลดการนำเข้าของสหรัฐฯ เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ) และตลาดประเทศคู่ค้าอื่นที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ

ทั้งนี้ ในปี 2562-2564 ผลจากความต้องการใช้ในประเทศ (สัดส่วน 90% ของปริมาณการผลิตเหล็กในประเทศ) ที่มีแนวโน้มเติบโตจะเป็นปัจจัยหนุน การขยายตัวของปริมาณการผลิต อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญของผู้ผลิตเหล็กในประเทศ จากการการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น เนื่องจากมีราคาถูกกว่าและบางประเภทมีเทคโนโลยีการผลิตที่ดีกว่าในไทย เช่น รางรถไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นบางประเภท เป็นต้น

          แนวโน้มความต้องการใช้เหล็กและการผลิตเหล็กแยกรายประเภท ในช่วงปี 2562-2564 

         

          เหล็กทรงยาว

ความต้องการใช้เหล็กทรงยาวมีแนวโน้มเติบโตต่ำ ในปี 2562 ส่วนหนึ่งเป็นผลของภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวในอัตราชะลอลง และงานโครงสร้างพื้นฐานที่ยังคืบหน้าไม่มากนัก แต่การขยายตัวจะดี ขึ้นในปี 2563 และ 2564 (ภาพที่ 27) ตามการเร่งตัวของงานโครงสร้ำง พื้นฐานขนาดใหญ่

โดยโครงการส่วนใหญ่ที่ภาครัฐมีแผนจะลงทุนมากขึ้นในระยะข้างหน้าเป็นการพัฒนาระบบราง ได้แก่ รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งโครงการเหล่านี้ใช้เหล็กทรงยาวในการก่อสร้างเป็นหลัก โดยเฉพาะเหล็กลวดแรงดึงสูง (High tensile steel wire) ที่น่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นมาก ทำให้คาดว่าการผลิตเหล็กทรงยาวจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัว โดยคาดว่าจะมีปริมาณการผลิตโดย เฉลี่ย 4-5 ล้านตันต่อปี

ด้านความต้องการใช้เหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีแนวโน้มเติบโตต่ำในปี 2562 และกระเตื้องขึ้น 4-6% ในปี 2563 และ 2564 ตามการลงทุนภาครัฐและเอกชนที่จะเร่งขึ้น โดยความต้องการเหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณส่วนใหญ่เพื่อใช้สำหรับงานก่อสร้างระยะแรก อาทิ งานวางฐานรากและเสาของทางยกระดับโครงการ รถไฟฟ้า

สำหรับการผลิตเหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณในช่วงปี 2562-2564 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ในประเทศ โดยภาครัฐพยายามผลักดันให้ใช้เหล็กที่ผลิตในประเทศสำหรับงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ผู้ผลิตเหล็กไทยยังเผชิญภาวะการแข่งขันด้านราคากับเหล็กที่นำเข้าจากต่างประเทศและการขยายโรงงานผลิตเหล็กของนักลงทุนจีนที่เข้ามาตั้งในไทย

ราคาเหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณในประเทศมีแนวโน้มหดตัวในช่วงปี 2562-2563 ตามราคาเหล็กโลกที่จะปรับลดลงจากอุปทานส่วนเกินที่ยังเพิ่มขึ้น แต่คาดว่าราคาจะกลับมาขยายตัวได้เล็กน้อยในปี 2564 เนื่องจากความต้องการใช้ที่จะเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของภาคก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ที่คาดว่าจะมีโครงการก่อสร้างจำนวนมาก

          เหล็กทรงแบน

คาดว่าความต้องการใช้จะทรงตัวถึงขยายตัวเล็กน้อย ในปี 2562 และขยับตัวดีขึ้นในปี 2563-2564 (ภาพที่ 28) ตามการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ยานยนต์และเครื่องจักร และการเติบโตของภาคก่อสร้างที่อาจใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กในกลุ่มนี้มากขึ้น เช่น เหล็ก แผ่นเมทัลชีทสำหรับทำหลังคาหรือใช้เป็นกำแพงกั้นห้อง ด้านการผลิตเหล็กทรงแบนในช่วงปี 2562-2564 มีแนวโน้มขยายตัวตามทิศทางอุปสงค์ โดยคาดว่าจะมีปริมาณการผลิตเฉลี่ยประมาณ 2.5-3.0 ล้านตันต่อปี

ด้านเหล็กแผ่นรีดร้อนซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของเหล็กทรงแบน ความต้องการใช้ในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2563-2564 อานิสงส์จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่ที่มีความต้องการใช้เหล็กรางและผลิตภัณฑ์เหล็กมากขึ้น ผนวกกับการผลิตยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มขยายตัวตามการเติบโตของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนมีแนวโน้มเติบโตได้จำกัด เนื่องจากไทยไม่มีการผลิตเหล็กต้นน้ำ ผู้ผลิตส่วนใหญ่จำเป็นต้อง นำเข้าเหล็กแท่งแบนจากต่างประเทศเพื่อเป็นวัตถุดิบผลิตเหล็กรีดร้อน ผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนของไทยจึงแข่งขันด้านต้นทุนกับคู่แข่งจากประเทศอื่นได้ยาก

ราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนของไทยในระยะ 3 ปีข้างหน้า มีแนวโน้มปรับลดลง (ภาพที่ 26) ตามราคาเหล็กโลก จากภาวะอุปทานส่วนเกิน​

 ปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องและควรติดตาม  ปัญหาการน้าเข้าเหล็กราคาถูก (โดยเฉพาะจากจีน) สรุปได้ดังนี้

1) อุปทานเหล็กส่วนเกินในจีนยังมีอยู่มาก แม้ว่าทางการจีนมีนโยบายลดการผลิตเหล็กโดยสั่งปิดโรงงานผลิตที่มีคุณภาพต่ำ แต่ผู้ประกอบการอาจหันไปผลิตเหล็กที่มีคุณภาพสูงออกสู่ตลาดโลกมากขึ้นในระยะข้างหน้า ซึ่งคาดว่าจีนจะยังรักษาความได้เปรียบด้านราคาไว้ได้จากการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) เนื่องจากมีแร่เหล็ก (iron ore) ซึ่งสามารถผลิตเหล็กคุณภาพดีได้ (แต่ที่ผ่านมาจีนไม่ลงทุนใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในโรงงาน ทำให้เหล็กที่ได้คุณภาพไม่สูงนัก)

2) ผู้ประกอบการจีนบางรายหันไปลงทุนตั้งโรงงานเหล็กในต่างประเทศ อาจส่งผลให้โรงงานเหล็กของจีนเข้ามาเปิดสายการผลิตในไทยและแย่งชิง ส่วนแบ่งตลาดเหล็กในไทย จากข้อมูลล่าสุดของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มูลค่าการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนของไทยในไตรมาสแรก ปี 2562 ส่วนใหญ่มาจากจีน (ร้อยละ 26 ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด) โดยเข้ามาลงทุนในโครงการผลิตภัณฑ์โลหะ (รวมเหล็ก) ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนสูงในอันดับต้นๆ ของโครงการลงทุนจากจีนที่ได้รับอนุมัติทั้งหมด

3) หลายประเทศมีมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเหล็กจากจีน เช่น การตั้งกำแพงภาษีนำเข้าเหล็กในสหรัฐฯ และการสนับสนุนให้เพิ่มกำลังการผลิต เหล็กในอินเดียเพื่อลดการนำเข้าจะยิ่งทำให้อุปทานส่วนเกินของเหล็กที่มีราคาถูกในจีนถูกส่งออกไปจำหน่ายในประเทศอื่นรวมถึงในไทยมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลจาก : 

แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม 2562-2564 – อุตสาหกรรมเหล็ก : https://www.krungsri.com