โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก กับโครงสร้างเหล็ก อะไรเหมาะกับบ้านคุณ ตอน 4



ด้านการออกแบบ

คอนกรีต:  ในมุมมองด้านงานออกแบบ แม้ว่าคอนกรีตจะเป็นวัสดุโครงสร้างที่มีมานานแล้ว แต่ก็ยังคงตอบสนองการใช้งานได้เป็นอย่างดี เนื่องจากคอนกรีตนั้นมีความยืดหยุ่นในเรื่องของรูปทรงได้มากกว่าเหล็ก อีกทั้งสามารถหล่อแบบได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงลักษณะใด 
แต่ปัญหาสำคัญที่ทำให้สถาปนิกบางรายไม่เลือกคอนกรีตมาใส่ในงานดีไซน์เพราะด้วยขนาดรูปทรงที่ใหญ่เทอะทะ ของโครงสร้างคอนกรีต (เสา คาน) ขัดกับคอนเซ็ปต์งานดีไซน์  และตัวเสาหรือคานเหล่านี้ จะมีผลกระทบต่อการจัดวางพื้นที่ภายในบ้านหรือคาร โดยเฉพาะกับบ้านสไตล์ modern หรือแนว industrial ที่มักจะเน้นความโปร่ง โล่งของพื้นที่
 
แต่ข้อดีคืองานโครงสร้างประเภทคอนกรีตเหมาะกับงาน  post tension ( ระบบ post tension คือ งานพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง ที่ดึงเหล็กเส้นที่อยู่ในคอนกรีตออกมาหลังเทคอนกรีต เพื่อให้ตัวโครงสร้างสามารถรับแรงได้มากกว่าปกติ ทำให้พื้นคอนกรีตบางลง ( 20-28 ซม. ) และไม่จำเป็นต้องมีคานมารับตามช่วงเสา อีกทั้งยังก่อสร้างได้ง่ายกว่าระบบคาน และช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของงานโครงสร้างลงได้พอสมควร)
 
เหล็ก: เหล็กให้ความรู้สึกแปลกใหม่ที่ฉีกแนวไปจากอาคารคอนกรีตที่เห็นกันอยู่ทั่วไป อีกทั้งยังเป็นเทรนด์การออกแบบในแวดวงสถาปัตย์โลก สถาปัตยกรรมจำนวนไม่น้อยสร้างความตื่นตาตื่นใจด้วยการเรียงต่อโครงสร้างเหล็กจนได้ผลงานการออกแบบอันยอดเยี่ยม  เช่น สนามกีฬาแห่งชาติกรุงปักกิ่ง (bird’s nest ) นอกจากนี้โครงสร้างเหล็กยังให้ระยะห่างระหว่างเสาได้มากกว่าคอนกรีต เพราะระยะห่างทั่วไปกำหนดไว้ที่ 4 เมตร แต่โครงสร้างเหล็กสามารถกำหนดระยะห่างร่นออกไปได้ถึง 6 เมตร แต่ข้อเสียคือ หากมีการต่อระยะ span ให้ยาวเป็นพิเศษจะต้องใช้การต่อยึดเหล็ก
 
สรุป: ด้านการออกแบบ หากเกรงว่าขนาดที่ใหญ่โตของตัวคานหรือเสาจะทำให้บ้านของคุณดูไม่สวยงามนัก ก็เลือกใช้โครงสร้างเหล็ก ทำให้โครงสร้างเหล็กเหมาะกับบ้านที่ไม่ต้องการเสาหรือคานที่ใหญ่และต้องการระยะห่างระหว่างเสากว่าปกติ ( ระยะทั่วไปคือ 4 เมตร)
 
 
ด้านสิ่งแวดล้อม
 
สมาคมเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยยกย่องให้เหล็กเป็นวัสดุก่อสร้างอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เนื่องจากชิ้นงานเหล็กสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ไม่ทิ้งเศษวัสดุ จัดเก็บรวมกองได้ง่าย ไม่กระจัดกระจาย สะดวกสบายในการขนส่งลำเลียง ในขณะที่งานคอนกรีตมักทิ้งร่องรอยความสกปรกไว้ในบริเวณสถานที่ก่อสร้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งเศษอิฐหินปูนทราย โคลนดินเหลวจากการขุดเจาะ ละอองฝุ่นที่ฟุ้งกระจายไปยังบ้านเรือนและบริเวณใกล้เคียง สร้างมลพิษทางเสียงให้กับชุมชนใกล้เคียงจากเสียงการก่อสร้าง
 
แม้ว่าเรื่องของความสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะมีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกโครงสร้างบ้านเป็นลำดับท้ายๆ เมื่อเที่ยบกับปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น เรื่องของราคาหรือความรวดเร็วในการก่อสร้าง แต่หากคุณเป็นคนที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อมและชุมชนรอบตัว โครงสร้างเหล็กน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าแถมยังทำให้บ้านของคุณเป็นบ้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย
 
สรุป: ด้านสิ่งแวดล้อม – โครงสร้างเหล็กดีกว่า ฝุ่นน้อย ไม่เลอะเทอะ และสามารถ recycle หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้
 


ไม่ว่าโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กจะช่วยลดต้นทุนค่าก่อสร้างได้กี่เปอร์เซ็นต์หรือโครงสร้างเหล็กจะให้ความทันสมัยในงานก่อสร้างต่อแวดวงสถาปัตย์ไทยเพียงใด ก็จะเห็นว่าโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กและโครงสร้างเหล็ก มีจุดอ่อนและจุดแข็งไม่เหมือนกัน ใครจะเลือกใช้โครงสร้างอะไร ก็คงจะขึ้นอยู่กับความพอใจ ปัจจัยและความเหมาะสมในหลายๆ ด้าน ทั้งจากเจ้าของบ้าน สถาปนิกหรือวิศวกร หรือรวมไปถึงที่ปรึกษาในการก่อสร้างเป็นหลัก ที่จะสามารถตอบได้ว่าวัสดุโครงสร้างแบบใดที่เหมาะกับบ้านของคุณ
 
ส่วนใครที่กำลังมองหาฉนวนป้องกันความร้อน กันเสียงหรือกันสนิมให้กับบ้านของคุณ แล้วยังไม่รู้จะเริ่มต้นหาข้อมูลตรงไหน ลองแวะไปที่ www.rf-foam.com มีข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ อีกมากมายให้คุณ แล้วอย่าลืมมาแบ่งปันกับเอกเขนกบ้างนะคะ
 
ป.ล. อย่างที่บอกให้ทราบตอนแรกนะคะ  เอกเขนกเองก็ไม่ใช่วิศวกร แต่เป็นผู้บริโภคคนหนึ่งที่ชอบศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เราบริโภครอบตัว  เพื่อที่จะได้ตัดสินใจได้ว่าจะเลือกบริโภคอะไรดี  โครงสร้างเหล็กและโครงสร้างคอนกรีต เป็นอะไรที่น่าสนใจ ถ้าหากกำลังจะสร้างบ้าน คงต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทั้งสถาปนิก วิศวกร และผู้รับเหมาก่อนสร้าง ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะใช้อะไร
 Cr. http://community.akanek.com/th/story/2010/10/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81-%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93-0